งานของเราและโครงการสนับสนุนต่างๆ

มูลนิธิปันรักมุ่งทำงานเพื่อร่วมมือกับองค์การต่าง ๆ ในการสนับสนุน และให้กำลังใจแก่กันและกันที่จะขับเคลื่อนพันธกิจต่าง ๆ ในขณะเดียวกันมูลนิธิฯ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจในการแบ่งปันความรักของพระเจ้าในรูปแบบที่จับต้องได้

พันธกิจของเราได้รับการสนับสนุนโดยตรงผ่านมูลนิธิไทยคริสเตียนซึ่งเป็นพันธมิตรของเราในสหรัฐอเมริกา 

มูลนิธิปันรัก

มูลนิธิไทยคริสเตียนร่วมมือกับมูลนิธิปันรักซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย

วิสัยทัศน์ของปันรักคือ ‘การแบ่งปันความรักของพระเจ้าในรูปแบบที่จับต้องได้ซึ่งเป็นพรแก่ผู้คน’

มูลนิธิปันรัก

มูลนิธิไทยคริสเตียนร่วมมือกับมูลนิธิปันรักซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย

วิสัยทัศน์ของปันรักคือ ‘การแบ่งปันความรักของพระเจ้าในรูปแบบที่จับต้องได้ซึ่งเป็นพรแก่ผู้คน’

โครงการบึงกลึง

หมู่บ้านเปิงเคลิ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่อยู่ติดชายแดนไทยพม่า ที่ตั้งอยู่ฝั่งไทย มูลนิธิไทยคริสเตียนได้ให้การสนับสนุนการก่อตั้งหอพักเด็กที่นั่นในปี 2539 และหอพักเด็กแห่งนี้มีส่วนทำให้เกิดการก่อตั้งคริสตจักรเปิ่งเคลิ่งขึ้นในปี 2544 คริสตจักรที่เข้มแข็งแห่งนี้ช่วยมูลนิธิปันรักในการประสานงานและดูแลจัดการพันธกิจ และยังช่วยเหลือด้านการศึกษาในชุมชนและโครงการด้านสุขภาพเพื่อชุมชนที่นั่น

และบางส่วนก็เป็นครอบครัวผู้พลัดถิ่นที่อยู่ในประเทศพม่า หอพักเริ่มต้นด้วยการช่วยเหลือเด็กๆ เพียงไม่กี่คน ในปัจจุบันมีเด็กๆ ในการดูแลกว่า 50 คน

 

พันธกิจที่ผ่านทางคริสตจักรเปิ่งเคลิ่ง เราให้การช่วยเหลือ 15 คริสตจักรในพื้นที่ใกล้เคียงทั้งด้านการดูแลศิษยาภิบาลและงานพันธกิจ พื้นที่เหล่านี้อยู่ในเขตอุ้มผาง เปิ่งเคลิ่ง ซอแมะ เลตองคุ และอีกหลายหมู่บ้านอยู่ในเขตชายแดนในประเทศพม่า (เมียนม่า)

นอกจากนี้ คริสตจักรเปิ่งเคลิ่งยังเป็นผู้ประสานงานส่งความช่วยเหลือจากมูลนิธิปันรักให้กับนักเรียนในหอพักที่ต้องการศึกษาต่อในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย มูลนิธิปันรักให้การสนับสนุนและทำงานร่วมกับผู้นำในชุมชนเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับเด็กๆ ที่นั่น

 

คุณเบญจวรรณ ธัญญารัชฏ์เคยเป็นนักเรียนในหอพักเปิ่งเคลิ่ง เธอได้รับการช่วยเหลือและได้รับการส่งเสริมจากมูลนิธิไทยคริสเตียน ปัจจุบันเธอเป็นผู้อำนวยการฝ่ายจัดการสำนักงานของมูลนิธิปันรัก เด็กหลายคนในหอพักเปิ่งเคลิ่งสำเร็จการศึกษาและได้เป็นผู้นำในชุมชนและที่ทำงานของพวกเขา 

 

 

แรกเริ่ม หอพักเด็กแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เด็กๆ ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความรักแบบคริสเตียน เป็นที่พักสำหรับนักเรียนชั้นประถมและมัธยมต้น ให้การสนับสนุนและส่งเสริมเด็กๆ ที่มาจากหมู่บ้านเลตองให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ในเวลาเพียงไม่นาน หอพักกลายเป็นสถานที่ลี้ภัยสำหรับเด็กหลายคนจากครอบครัวที่ต้องพลัดถิ่นอันเนื่องมาจากความขัดแย้งในประเทศพม่า (เมียนม่า) ครอบครัวของเด็กเหล่านี้บางส่วนอยู่ในค่ายผู้อพยพใกล้หมู่บ้านเปิงเคลิ่งที่ตั้งขึ้นมาในปี 2540 

โครงการฟื้นฟูกระท่อมชะอำคริสเตียนมิชชั่น

มูลนิธิปันรักให้ความช่วยเหลือและให้ความร่วมมือในการฟื้นฟูสถานที่แห่งนี้ เพื่อให้สถานที่อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตวิญญาณแห่งนี้ได้รับการดูแลและดำเนินต่อไปได้  จุดประสงค์ของโครงการในการร่วมมือนี้คือการบูรณะบ้านพักและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินผืนนี้ให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง เป้าหมายเพื่อพัฒนาให้ที่พักให้มีความน่าอยู่ เหมาะสำหรับการฟื้นฟูจิตวิญญาณ สถานที่มีความสวยงามและมีบรรยากาศที่ดีให้แก่คนรุ่นต่อๆ ไป

ข้อความส่วนหนึ่งจากศาสนาจารย์ ริชาร์ด โวลลี่ย์ หนึ่งในมิชชันนารีผู้ก่อตั้งกล่าวไว้ดังนี้ “บ้านพักชะอำ อันเป็นชื่อแรกนั้นเป็นที่รับรู้โดยทั่วกันว่าเป็นบ้านพักตากอากาศสำหรับมิชชันนารี ตามสัญญานั้นมีเจ้าของอยู่ 2 ท่าน คืออเมริกันแบ๊พติสท์มิชชัน (75%) และเดอะดิไซเปิลมิชชัน (25%) นับตั้งแต่การซื้อครั้งแรก เดอะดิไซเปิลได้มอบที่แห่งนี้ให้กับสภาคริสตจักรในประเทศไทย และไทยแลนด์แบ๊พติสท์มิชชั่นนารีเฟลโล่ชิพได้เข้ามาดูแล ในเวลาต่อมาอเมริกันแบ๊พติสท์มิชชั่นได้เข้ามาดูแลรับช่วงต่อ แม้ว่าขณะนี้บ้านพักคริสเตียนมิชชันจะเป็นของมูลนิธิคริสเตียนบริการตามกฎหมายก็ตาม แต่คณะกรรมการบ้านพักคริสเตียนมิชชันได้มอบหมายความรับผิดชอบบ้านพักแห่งนี้ให้กับไทยแลนด์แบ๊บติสท์มิชชั่นนารีเฟลโล่ชิพ โดยสภาคริสตจักรในประเทศไทยเป็นผู้ให้ชื่อสมาชิกและคณะกรรมการชุดนั้น

 

ในปี 2562 มูลนิธิฯ ได้สนับสนุนการซ่อมแซมหลังคาและเพดานของบ้านพักทุกหลังรวมถึงสถานที่อำนวยความสะดวกของที่นั่น และระดมทุนเพื่อเดินสายไฟฟ้าใหม่ ติดตั้งพัดลมให้กับอาคารบ้านพักทุกหลัง รวมทั้งห้องอาหารและคริสตจักรของที่นั่น

 

นอกจากนั้น มูลนิธิฯ ได้ให้การสนับสนุนอาสาสมัครที่เข้ามาดูแล ทำความสะอาดพื้นที่และซ่อมแซมบ้านพักตามระยะเวลาของอาสาสมัครและงบประมาณที่มีสำหรับบ้านพัก

 

มูลนิธิฯ หวังว่าจะยังคงมีส่วนในการช่วยเหลือไทยแลนด์แบ๊พติสท์เฟลโล่ชิพและมูลนิธิคริสเตียนบริการเพื่อบูรณะและเปิดสถานที่ทางประวัติศาสตร์อันงดงามแห่งนี้ต่อไป

before

โครงการหนังสือเด็ก

วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 มูลนิธิปันรักได้จัดพิมพ์หนังสือที่ชื่อว่า “BORN FREE and EQUAL” เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี 2492 หม่อง หม่อง เต่ง เป็นศิลปินผู้วาดภาพประกอบหนังสือเล่มนี้และได้ถูกแปลเป็นห้าภาษา หลายองค์กรได้แจกจ่ายหนังสือที่เปี่ยมไปด้วยพลังเล่มนี้ไปตามโรงเรียนตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่า (เมียนม่า) และในประเทศพม่า (เมียนม่า) โดยมีเป้าหมายเพื่อสื่อสารถึงใจความสำคัญในหนังสือเล่มนี้ให้กับเด็กๆ 

ท่านสามารถบริจาคเพื่อช่วยโครงการนี้ และ หม่อง หม่อง เต่ง รวมทั้งเจ้าหน้าที่มูลนิธิปันรักเพื่อมอบหนังสืออนุสรณ์เล่มนี้ที่เต็มไปด้วยภาพวาดและเรื่องราวให้กับเด็กนักเรียนในแต่ละโรงเรียน ท่านสามารถบริจาค 300-350 บาท หรือตำแต่กำลังและภาระใจที่ท่านมี เราหวังที่จะระดมทุนเพื่อพิมพ์หนังสือฉบับนี้และผลงานของ หม่อง หม่อง เต่ง ซ้ำอีกครั้ง …

มูลนิธิเชสเชียร์: บ้านสำหรับผู้พิการ

ทองอยู่ เชสเชียร์ โฮมอยู่ห่างจากใจกลางเมืองเชียงใหม่อันพลุกพล่านประมาณ 3 ไมล์ บ้านแห่งนี้หวังที่จะให้ที่อยู่อาศัยอันเงียบสงบแก่ผู้พิการจากทุกเชื้อชาติและทุกศาสนา แต่มันมีอะไรมากกว่านั้นอีกมาก …

สถาบันสื่อสารคริสเตียน

สถาบันคริสเตียนนิเทศสัมพันธ์ หรือซีซีไอ (Christian Communications Institute หรือ C.C.I.) ถูกก่อตั้งโดยศาสนาจารย์อรัญและศาสนาจารย์โจน ยูแบงค์ ผ่านความช่วยเหลือจากมูลนิธิไทยคริสเตียน ในปี พ.ศ. 2523 โดยมีเป้าหมายเพื่อบอกเล่าข่าวประเสริฐผ่านทางศิลปวัฒนธรรมไทย ในปัจจุบัน ซีซีไอเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิสภาคริสตจักรในประเทศไทย ซีซีไอใช้ศิลปะหลากหลายรูปแบบทั้งสมัยใหม่และดั้งเดิมเพื่อบอกเล่าข่าวประเสริฐในแบบที่คนไทยสามารถเข้าใจได้ เพื่อเป็นแบบอย่างสำหรับสังคมและการดำเนินชีวิตครอบครัวที่ดี ในแต่ละปี ซีซีไอได้นำนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศมารับเชื่อในพระเยซูคริสต์ นอกจากนั้นในแต่ละปีมีการแสดงลิเกเพื่อการประกาศราว 25 หมู่บ้าน พวกเขาทำการแสดงในต่างประเทศด้วยเช่นกัน และได้ปเริ่มเข้าไปบอกเล่าข่าวประเสริฐในเรือนจำและโรงเรียนรัฐบาล ซีซีไอเป็นโครงการหนึ่งที่มูลนิธิปันรักสนับสนุน

โครงการปากแหว่งเพดานโหว่

ลองจินตนาการหากลูกของท่านเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่และท่านไม่มีเงินจะผ่าตัดรักษา ชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไร

 

เดิมทีวายเอ็มซีเอจัดทำโครงการนี้เพื่อช่วยเด็กๆ ทุกชาติพันธุ์ในประเทศไทย ปัจจุบันเด็กในประเทศไทยเป็นโรคนี้น้อยลง อาจเนื่องจากการมีโภชนาการที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามโรคนี้ยังเป็นปัญหาอย่างยิ่งสำหรับเด็กชาวว้าและชาติพันธุ์ในพม่า (เมียนม่า)

 

มูลนิธิปันรักทำหน้าที่อำนวยความสะดวกเพื่อให้เด็กๆ และครอบครัวสามารถข้ามฝั่งจากพม่าเข้ามายังเชียงรายเพื่อรับการรักษา เราทำงานร่วมกับโรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค เชียงราย, วายเอ็มซีเอ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และหมออาสาและหมอผ่าตัดจาก Operation Smile จากประเทศแคนาดา และองค์การอื่น ๆ เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กๆ เหล่านี้

ปัจจุบันผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ 100 กว่าคนได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้ว แต่ยังคงมีผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ชาติพันธุ์ละว้าอีกจำนวนมากที่กำลังรอคอยการรักษา เราสามารถรับผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาได้ตามงบประมาณที่เราได้รับบริจาค

ความช่วยเหลือและการริเริ่มด้านการศึกษา

มูลนิธิปันรักมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนจากชนบท จากพื้นที่ห่างไกลในประเทศไทยและตามแนวชายแดนไทย-พม่า (เมียนม่า) เราส่งเสริมและสนับสนุนเด็กๆ เหล่านี้เพื่อให้เขาเติบโตและมีโอกาสเรียนหนังสือ ทุนการศึกษาเหล่านี้ช่วยเด็กๆ ให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา ระดับสายอาชีพ และระดับมหาวิทยาลัย ด้วยความขยันหมั่นเพียรอุตสาหะเด็กๆ เหล่านี้จึงเป็นความหวังของครอบครัวและชุมชน นักเรียนทุนหลายคนได้มอบสิ่งดีๆ กลับคืนสู่ชุมชนของพวกเขา

โครงการเรือนจำบ้านพร

มูลนิธิไทยคริสเตียนเป็นองค์กรการกุศลหลักในสหรัฐอเมริกา สำหรับประชาชนและคริสตจักรต่างๆ เพื่อสนับสนุนทางการเงินแก่มูลนิธิสภาอวยพร (HOBF) ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย TCF โอนเงินบริจาคเหล่านี้ …

โครงการละว้า-วะ

เราทำงานร่วมกับชาติพันธ์ุละว้าในประเทศไทย และชาติพันธุ์ว้าในตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า (เมียนม่า) โครงการในปัจจุบันคือการสนับสนุนบ้านพักเด็กละว้าในส่วนของผู้ดูแบ้านพัก ค่าเทอมและค่าใช้จ่ายในต่างๆ ของนักเรียน และการประกาศข่าวประเสริฐ มูลนิธิปันรักยังสนับสนุนผู้ป่วยวิกฤตที่มีความจำเป็นต้องเข้ามารับการรักษาในประเทศไทย เนื่องจากการขาดแคลนทุนทรัพย์ในการรักษาโรคและอุปกรณ์การแพทย์ในเขตพื้นที่อยู่อาศัย

โครงการศูนย์สุขภาพชุมชนเลตองคู

..

สุขศาลาเลตองคุคือผลจากการทำพันธกิจคริสเตียนอันยาวนานกับชาวเทเลโคที่นั่น หมู่บ้านเลตองคุตั้งอยู่บนชายแดนไทยพม่า เป็นชุมชนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม สุขศาลาแห่งนี้ให้การดูแลผู้ป่วยจากที่ต่างๆ ทั้งฝั่งไทยและฝั่งพม่า มีเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพสิบคนและธุรการสองคนทำงานที่นั่น

สุขศาลาเริ่มพันธกิจขึ้นในปี 2549 และนั่นคือก้าวสำคัญก้าวแรกแห่งประวัติศาสตร์พันธกิจในพื้นที่แห่งนั้น ศจ.อรัญ ยูแบงค์เป็นผู้นำข่าวประเสริฐไปยังที่นั่นในปี 2505 และข่าวประเสริฐค่อยๆ หยั่งรากลงในจิตใจของชาวกะเหรี่ยงเทเลโคอย่างช้าๆ สุขศาลาได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี 2552 โดยเป็นพันธกิจจากคริสตจักรเปิ่งเคลิ่งเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วย

ผู้ป่วยราว 1,000 – 3,000 คนมาใช้บริการที่สุขศาลาเลตองคุและกลายมาเป็นคลินิกหลักของพวกเขา อีก 1,000 คนเข้ามาเพื่อขอคำปรึกษา ในปี 2552 Partners Relief and Development ได้เข้ามาร่วมทำโครงการริเริ่มในชุมชนแห่งนี้เพื่อช่วยเหลือด้านธุรการ, การรายงาน, การฝึกอบรม และการดูแลทางการแพทย์ของสุขศาลา

 

คริสตจักรเปิ่งเคลิ่งและกรรมการคริสตจักรเลตองคุเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายทางบัญชีและกำหนดทิศทางพันธกิจของสุขศาลา สุขศาลามีความสัมพันธ์ที่ดีกับกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย และทำงานร่วมกันเพื่อส่งตัวผู้ป่วยต่อไปยังโรงพยาบาลอุ้มผาง 

โครงการพิเศษ

ศาสนาจารย์โจน ยูแบงค์ ได้ช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิง 2 ท่านตลอดระยะเวลาที่อยู่ในเรือนจำ และเราดีใจที่ทั้งสองท่านได้ออกจากเรือนจำแล้ว ทั้งนี้มูลนิธิฯ ยังคงสนับสนุนหนึ่งในสองท่านนี้ โดยการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายบางส่วนในการดำเนินชีวิตเนื่องจากมีอายุมาก และมีปัญหาครอบครัว

ในการประสานงานร่วมกันระหว่างมูลนิธิปันรักในประเทศไทยและมูลนิธิบ้านพระพรในประเทศไทย เราช่วยกันในการอำนวยความสะดวกเพื่อเป็นสะพานในการแลกเปลี่ยนความเข้าใจและการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในประเทศไทยและเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ของวอชิงตัน

พันธกิจเรือนจำคริสเตียน มูลนิธิบ้านพระพร

มูลนิธิไทยคริสเตียนเป็นองค์กรการกุศลหลักในสหรัฐอเมริกา สำหรับผู้คน และ คริสตจักรที่จะสนับสนุนทางด้านการเงินให้กับมูลนิธิบ้านพระพรในกรุงเทพมหานคร มูลนิธิไทยคริสเตียนทำการรับและส่งเงินบริจาคให้กับมูลนิธิบ้านพระผ่านทางทางมูลนิธิปันรัก

มูลนิธิบ้านพระพรโดยการนำของศาสนาจารย์สุนทร สุนทรธาราวงศ์ ท่านทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยในหลายด้าน เช่นกระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กระทวงยุติธรรมเช่น กรมราชทัณฑ์, กรมคุ้มครองสถานพินิจเด็กและเยาวชน และกรมคุมประพฤติ

มูลนิธิบ้านพระพรมี 3 พันธกิจด้วยกัน

พันธกิจแรกคือ ภายในเรือนจำมีกิจกรรมส่งเสริมต่าง ๆ ประกอบไปด้วย การประกาศ การฝึกอาชีพ การสอนภาษาอังกฤษ ดนตรี และกีฬา

 

พันธกิจที่สองคือ ช่วยเหลือผู้ต้องขังที่พ้นโทษไม่มีที่อยู่ ถูกครอบครัวปฏิเสธ หรือหางานไม่ได้ ในกรณีนี้

บ้านพระพรอนุญาตให้พวกเขาอยู่และรับการฝึกอบรมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งในด้านความต้องการทางสังคมและทางจิตวิญญาณ บ้านพระพรได้เตรียมกิจกรรมสำหรับพวกเขาและเสนอโครงการทำมาหากินให้พวกเขาเพื่อฝึกฝนทักษะและความรู้ในการเริ่มต้นชีวิตใหม่และมีโอกาสเริ่มต้นชีวิตกับครอบครัว

บ้านพระพรยังช่วยเตรียมผู้คนให้กลับคืนสู่สังคมและลบตราบาปที่เคยมีมา เจ้าหน้าที่ของบ้านพระพรพยายามอย่างเต็มที่ในการสอนและนำทางผู้คนที่ออกจากเรือนจำโดยพระคุณของพระเจ้าเพื่อเปลี่ยนแปลงชชีวิตของพวกเขา รวมถึงในบ้านกึ่งวิถีนั้นก็มีเยาวชนจำนวนมากจากสถานพินิจเด็กและเยาวชน, ศาลเยาวชนและครอบครัว ที่ได้รับการปล่อยตัวจากการคุมขังเนื่องจากการทำข้อตกลงพิเศษร่วมกันกับรัฐบาลไทย เยาวชนเหล่านี้ส่วนมากมาจากครอบครัวที่แตกแยกและไม่สามารถพึ่งพาใครได้ มูลนิธิบ้านพระพรช่วยเยาวชนเหล่านี้ด้วยการส่งเสริมการศึกษา และให้มีการศึกษานอกระบบในทุกวันอังคารเพื่อให้พวกเขามีโอกาสศึกษาต่อแม้ว่าจะพึ่งจบระดับชั้นประฐมศึกษาก็ตาม มูลนิธิบ้านพระพรยังมีการฝึกอบรมสายอาชีพให้กับพวกเขาเพื่อเรียนรู้ทักษะที่จะสามารถใช้เพื่อมีงานทำเมื่อพร้อมที่จะใช้ชีวิตสู่ภายนอก ในปีนี้มูลนิธิบ้านพระพรรู้สึกตื่นเต้นที่จะสร้างบ้านใหม่ให้กับเยาวชนบนที่ดินที่เพิ่งได้รับบริจาคมา

พันธกิจที่สามคือ พันธกิจเด็ก พันธกิจมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีเด็กจำนวนมากที่มาจากเรือนจำเด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์แม่และเด็กมีอยู่ 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกเป็นเด็กที่เกิดในเรือนจำ พันธกิจนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้เป็นแม่หลายท่านเขียนจดหมายถึงศาสนาจารย์สุนทร เพื่อขอความช่วยเหลือเนื่องจากนโยบายของเรือนจำอนุญาติให้เด็กที่เกิดในเรือนจำสามารถอยู่ในนั้นได้เพียงปีเดียวเท่านั้น ปกติหลังจากหนึ่งปีหากไม่มีญาติที่จะดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์จะส่งเด็กไปยังสถานที่เลี้ยงดูเด็กกำพร้าที่แม่ของพวกเขาจะไม่มีโอกาสได้เจอเด็ก ๆ อีก เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของแม่ ศาสนาจารย์สุนทร ได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับแม่และเด็กโดยการเปิดบ้านพระพร ที่นั่นมีผู้คอยดูแลเด็กเล็ก ๆ และแม่ก็รู้สึกหายห่วงที่รู้ว่าลูก ๆ ของพวกเขาได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เด็ก ๆ ก็มีโอกาสไปเยี่ยมแม่ที่อยู่ในเรื่อนจำทุกเดือน กลุ่มที่สองคือเด็กที่พ่อแม่อยู่ในเรือนจำและไม่มีใครดูแล มูลนิธิบ้านพระพรก็จะดูแลเด็กสองกลุ่มนี้คอยเลี้ยงดูส่งไปโรงเรียน ส่วนเด็กโตสามารถเรียนดนตรีและกีฬาที่ที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ให้กับเด็ก ๆ เจ้าหน้าที่มูลนิธิบ้านพระพรรักเด็ก ๆ เหล่านี้เสมือนเป็นครอบครัวของเขาและเชื่อว่าพวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ที่ต้องการโอกาสในการอยู่ในสังคมและมีสิทธิเท่าเทียมกันเช่นเดียวกับเด็กคนอื่น ๆ มูลนิธิบ้านพระพรสอนพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องราวของพระเจ้าที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์

มูลนิธิปันรักสนับสนุนมูลนิธิบ้านพระพรและแบ่งปันความรักของพระเจ้าไปยังผู้ต้องขัง และ อดีตนักโทษผ่านทางฝึกอบรบฝึกฝนด้านการเปลียนแปลงเพื่อเป็นคนที่ดีขึ้น มูลนิธิปันรักทำสิ่งเหล่านี้ผ่านทางมูลนิธิบ้านพระพร ในกรุงเทพ ฯ มูลนิธิปันรักเป็นช่องทางหลักให้กับผู้คนต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนทางการเงินให้กับมูลนิธิบ้านพระพร เราสนับสนุนมูลนิธิบ้านพระพรโดยร่วมกับศาสนาจารย์สุนทร ในการลงพื้นที่ในเรือนจำ ฝึกฝนการเปลี่ยนแปลงตัวเอง และสนับสนุนเด็กและผู้ใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

มูลนิธิปันรักอำนวยความสะดวกในโครงการแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างสะพานในการสนับสนุน ข้อตกลงร่วมกันแบบบูรณาการและมุ่งมั่นส่งเสริมในการฝึกฝนด้านการเปลี่ยนแปลงตัวเองที่จะเป็นคนที่ดีขึ้น ระหว่างพันธกิจเรือนจำในประเทศไทยและพันธกิจเรือนจำในวอชิงตัน

มูลนิธิปันรักร่วมกับพันธกิจกับสถาบันคริสเตียนนิเทศสัมพันธ์สนับสนุนในการลงพื้นที่ประกาศข่าวประเสริฐในสถานพินิจเด็กและยาวชนในเชียงใหม่และเรือนจำในกรุงเทพฯ

องค์การการกุศลสำหรับผู้หญิงในกรมราชทัณฑ์วอชิงตัน ในกิกฮาร์เบอร์ ได้ร่วมมือกับพันธมิตรของเราคือมูลนิธิไทยคริสเตียนเพื่อจัดหาเครื่องนุ่งห่ม หมวก ตุ๊กตา และชุดเด็กทารกเพื่อแจกจ่ายให้กับโครงการแม่และลูกในเรือนจำไทยและเด็ก ๆ ในมูลนิธิบ้านพระพร ที่พ่อแม่อยู่ในเรือนจำ ตั้งแต่ปี 2015 องค์การการกุศลสำหรับผู้หญิงแห่งนี้ได้สนับสนุนผู้ป่วยขาเทียม ศูนย์อพยพต่าง ๆ และทีมแพทย์ในพื้นที่ของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพหมู่บ้านเลตองคุ มูลนิธิปันรักช่วยแจกจ่ายการบริจาคเหล่านี้

โครงการสามแยก ลาวโซ่ง และโครงการนครปฐม

ศาสนาจารยร์อรัญและศาสนาจารย์โจน ยูแบงค์ย้ายที่อยู่ไปยังสามแยก นครปฐม ในเดือนกรกฎาคม 2506 เพื่อพันธกิจกับชาติพันธุ์ลาวโซ่งในแหลมกระเจาและโรงเรียนสหบำรุงวิทยา หลายพันธกิจเริ่มต้นขึ้นที่นี่ ทั้งการก่อสร้างและอุทิศถวายคริสตจักรสามแยกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว Porter ในรัฐเท็กซัส รวมถึงพันธกิจดนตรี และโครงการหัตถกรรมลาวโซ่ง ศาสนาจารยร์อรัญและศาสนาจารย์โจน ยูแบงค์ ทำพันธกิจในพื้นที่นี้เป็นเวลา 8 ปี จากนั้นได้ย้ายที่อยู่และทำพันธกิจที่จังหวัดเชียงใหม่

มูลนิธิปันรักยังคงสนับสนุนพันธกิจในพื้นที่นี้ ศาสนาจารยร์อรัญและศาสนาจารย์โจน ยูแบงค์ ยังคงกลับไปเยี่ยมและช่วยเหลืองานพันธกิจที่นั่น รวมถึงส่งเสริมการประกาศในพื้นที่ชาติพันธุ์ลาวโซ่งและสนับสนุนพันธกิจของอาจารย์สอง ในกาญจนบุรี ที่อยู่ในชุมชนชาติพันธุ์ลาวโซ่ง

โครงการทาลาโก

ศาสนาจารย์อรัญและศาสนาจารย์โจน ยูแบงค์ ประกาศพระกิตติคุณกับชาวเทเลโคตั้งแต่ปี ค.ศ.1962 และมูลนิธิปันรักยังคงรักษาส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีนี้ต่อไป รวมถึงพันธกิจคริสเตียนที่นำโดยผู้นำที่เป็นคริสเตียนในคริสตจักรเลตองคุ  หลังจาก 50 กว่าปีแห่งการทำพันธกิจกับชาวเทเลโค ในปี 2017 มีการสร้างคริสตจักรขึ้นในหมู่บ้านเลตองคุ ขณะนี้มีสมาชิกประจำ 100 คนและมีผู้รับบัพติศมา 60 กว่าคน หลังจากถวายคริสตจักรแล้ว คริสตจักรเปิ่งเคลิ่งและคริสตจักรเลตองคุทำงานร่วมกันเพื่อนำกำลังใจและแบ่งปันความรักของพระเจ้าให้กับผู้คนในพื้นที่

มูลนิธิปันรักให้การสนับสนุนศิษยาภิบาลคริสตจักรเลตองคุและพันธกิจต่างๆ ที่มาจากคริสตจักรในท้องถิ่น

โครงการคริสตจักรธรรมนิคม

คริสตจักรท้องถิ่นแห่งนี้อยู่ใกล้บ้านของศาสนาจารย์อรัญ และ ศาสนาจารย์โจน ยูแบงค์ ที่เชียงใหม่ เมื่อท่านทั้งสองย้ายมาแรก ๆ มีผู้เข้าร่วมนมัสการในคริสตจักรแห่งนี้ประมาณ 10 ท่าน แต่ในปัจจุบันมีสมาชิก 180 ท่านและกลายเป็นคริสตจักรที่มีความหลากหลายทางด้านชาติพันธ์ุ ทั้งไทย,จีน, ปะโอ, ฉาน, ลาหู่, ละว้า-ว้า, อาข่าและอเมริกัน

 

ในปี 2019 เราจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนฤดูร้อนให้กับเด็ก 45 คนที่มาจากคริสตจักรธรรมนิคม, คริสตจักรละว้า และคริสตจักรลาหู่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนพันธกิจของคริสตจักร และเราได้ส่งเด็กๆ 10 คนที่เป็นชาวปะโอ, ละว้า-ว้า และไทยเพื่อไปเข้าค่ายผู้นำเป็นเวลา 9 วันที่จัดโดยองค์การเยาวชนไทยเพื่อพระคริสต์และ เราได้ส่งเด็ก ๆ ไปร่วมเข้าค่ายภาษาอังกฤษของมูลนิธิเยาวชนสุขสวัสดิ์ที่จัดให้กับเด็ก 50-60 คน นอกจากนั้น เรายังช่วยจัดการฝึกอบรมการเป็นสาวกให้กับชาวปะโอเป็นประจำทุกเดือน

โครงการซีรา

คุณแป๊ะและคุณทิพย์ บุญหรั่งเป็นผู้นำพันธกิจชาวไทยที่เราได้ให้การสนับสนุนตั้งแต่ปี 2556 พวกเขามีพันธกิจทางการแพทย์ที่เติบโต พันธกิจสอนดนตรีที่บ้านเชสเชียร์ และโครงการพัฒนาชุมชนและคริสตจักรหลายโครงการ คุณแป๊ะและคุณทิพย์เป็นสมาชิกที่มีส่วนร่วมในคริสตจักรธรรมนิคม พันธกิจทางการแพทย์ของพวกเขาในปี 2019 ได้ช่วยผู้ป่วยสายตาจำนวน 1,005 รายและผู้ป่วยฟันอีก 1,000 รายในประเทศลาว รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐอีก 181 คน พวกเขาประสานงานและแปลให้กับพันธกิจการแพทย์ในค่ายผู้อพยพและหมู่บ้านต่างๆ ในพม่า (เมียนม่า)

ทั้งสองจัดตั้งองค์กรที่มีชื่อว่า Zera Ministry เป็นองค์กรที่เกี่ยวกับชุมชน, ชีวิต และการพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป้าหมายของพวกเขาคือการหว่านเมล็ดข่าวประเสริฐแบบองค์รวมให้กับบุคคลและชุมชนเพื่อนำไปสู่ชีวิตใหม่ ด้านล่างนี้คือข้อความพันธกิจของพวกเขา

  • เราค้นหาวิธีการที่สร้างสรรค์เพื่อตอบสนองความต้องการฝ่ายจิตวิญญาณ, สังคม, ร่างกายและจิตใจให้กับผู้ที่ด้อยโอกาส
  • เรามุ่งนำการพัฒนามาสู่ชุมชนตามแนวตะเข็บชายแดนด้านสาธารณะสุข, การเกษตร, การศึกษา รวมถึงการส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็ก
  • เราแสวงหาโอกาสเพื่อก่อตั้งและสร้างความสัมพันธ์และยกระดับการยอมรับของผู้เชื่อในชุมชน และให้ทรัพยากรแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในแบบที่ยั่งยืน
  • เราให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจคริสตจักรในพื้นที่และมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมนิมิตของคริสตจักร รวมถึงเตรียมผู้นำให้มีความพร้อมเพื่อออกไปรับใช้
  • เราปรารถที่จะทำงานร่วมกับองค์กรอื่นๆ, หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มต่างๆ ที่มีใจและนิมิตเดียวกัน

หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หาพวกเขาได้ใน Facebook หรือติดต่อพวกเขาผ่านทาง zeraministry@gmail.com

Dave และ Mint Ministires

พันธกิจเดฟและมิ้น

มิ้นและเดฟเป็นสมาชิกภาพของคริสตจักร Chapel Hill of Gig Harbor, รัฐวอชิงตันและเป็นส่วนหนึ่งของการประกาศพระกิตติคุณของคริสตจักรคณะเพรสไบทีเรียน คุณตาและคุณยายของ เดฟ คือศาสนาจารย์อรัญ และ ศาสนาจารย์โจน ยูแบงค์ และเดวิด ยูแบงค์ คือคุณลุงของเดฟ ซึ่งเป็นมิชันนารีมานานในประเทศไทยและพม่า เดฟเติบโตในครอบครัวของทหารเรือ และเดินทางไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา และทำงานในประเทศไทยร่วมกับครอบครัว ระหว่างที่เดฟเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยพายัพ เดฟได้มอบชีวิตให้กับพระเยซูคริสต์ และเริ่มทำงานเป็นอาสาสมัครให้กับ Free Burma Rangers ระหว่างที่รับใช้อยู่ที่อิรักและซีเรียเดฟได้รับการทรงเรียกให้เป็นผู้ประกาศ และเดฟได้ไปเรียนศาสนาศาสตร์ที่ Tyndale Theological Seminary ที่ อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 2020 เดฟสำเร็จการศึกษา และได้แต่งงานกับมิ้น ซึ่งมิ้นได้รอเดฟตั้งแต่เป็นแฟนกันในปี ค.ศ. 2014 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเดฟได้รับใช้ร่วมกับคุณแม่คือลอรี่ ดอสัน และ คุณตาอรัญ ยูแบงค์ ซึ่งตอนนี้ท่านมีอายุ 94 ปีแล้ว

มิ้นเกิดและเติมโตที่อำเภอแม่อายก่อนที่จะย้ายมาอยู่ที่เชียงใหม่กับพ่อแม่ที่เป็นพ่อบ้านแม่บ้านในหอพักละว้า https://thaichristianfoundation.org/project/lawa-wa-ministries/ พ่อของมิ้นเป็นชาติพันธุ์ลาหู่ และ แม่ของมิ้นเป็นชาติพันธุ์ว้า ทั้งสองชาติพันธุ์นี้เป็นชนกลุ่มน้อยจากประเทศเมียนมาร์/พม่า มิ้นจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาพื้นสวน จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาสาธารณสุข จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มิ้นรู้สึกถูกเรียกให้เป็นผู้ประกาศในตอนที่คุณตาของเดฟเชิญให้ร่วมเดินทางไปคณะสถาบันคริสเตียนนิเทศสัมพันธ์โดยใช้การแสดงละครเป็นสื่อในการประกาศ เดฟและมิ้นได้พบกันครั้งแรกในปีค.ศ.2013 ที่โครงการขาเทียมในจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันครอบครัวเรามีลูกชาย 2 คน คนที่1 ชื่อไทก้า อายุ2ขวบ คนที่ 2 เมอร์เรย์ อายุ 7 เดือน ครอบครัวเราเป็นพลเมืองไทยรวมถึงเดฟด้วยซึ่งได้สถานะนี้จากคุณแม่ของเขา

 

วิสัยทัศน์ของพันธกิจของเราคือการเห็นชีวิตถูกสร้างใหม่ผ่านพระราชกิจแห่งการคืนดีของพระเยซูคริสต์ ท่ามกลางกลุ่มผู้คนที่พระกิตติคุณยังเข้าไม่ถึง เรามีภาระใจที่จะทำพันธกิจที่ให้คุณค่าต่อครอบครัว และการแบ่งปันความเชื่อซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้ทำอย่างสม่ำเสมอ การทรงเรียกครั้งแรกของเราคือการทำพันธกิจกับชาวว้าแต่เราก็รู้สึกได้รับการทรงเรียกให้ทำงานร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาร์ (พม่า) เช่น ชาวกะเหรี่ยงตะละโค ปะโอ ฉาน และลาหู่ เราทั้งคู่ต่างก็เป็นพลเมืองไทย และตอนนี้กำลังศึกษาภาษาว้า ในขณะที่ฉันทำงานกับมูลนิธิปันรักซึ่งเป็นผู้ดูแลประสานงานกับมูลนิธิไทยคริสเตียน คริสตจักรของพระคริสต์ และพันธมิตรอื่นๆ อีกหลายแห่งในประเทศไทย เพื่อฝึกอบรมและฝึกฝนโครงการชุมชนและครอบครัวเพื่อเสริมสร้างและขยายคริสตจักรในประเทศไทยและพม่า ประเทศไทยมีคริสตจักรว้า 6 แห่ง และมีชุมชนใหม่อีก 77 ชุมชนที่เติบโตฝั่งพม่าบริเวณชายแดนไทยในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา และยังมีคนว้าอีกมากมายที่ข่าวประเสริฐยังเข้าไม่ถึงซึ่งอาศัยอยู่ที่ชายแดนเมียนมาร์-จีน ส่วนสำคัญของงานของเรา เพื่อเป็นกำลังใจ สนับสนุน และทำงานร่วมกับศิษยาภิบาล ผู้นำ และผู้ประกาศข่าวประเสริฐในท้องถิ่น

This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.